เจาะยอดขายรถ 8 เดือนแรกปี 67 ยี่ห้อใดขายดีสุด 10 อันดับแรก

ภาพรวมตลาดรถยนต์ไทย 8 เดือนแรกปี 2567 (มกราคม -สิงหาคม)ยังไม่ฟื้น โดยตัวเลขการขายรวม 399,611 คัน ลดลง 23.9% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง  154,194 คัน ลดลง 20.6% และรถเพื่อการพาณิชย์ 245,417 คัน ลดลง 25.8%  เมื่อมาดูตัวเลขการขายเฉพาะเดือนสิงหาคม 2567 ตลาดรวมมียอดขายทั้งสิ้น 45,190 คัน ลดลง 25% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 18,305 คัน ลดลง 22.6% และรถเพื่อการพาณิชย์  26,885 คัน ลดลง 26.5% 

 

อย่างไรก็ตามเมื่อมาดูยอดขายในกลุ่มตลาด xEV หรือยานยนต์ไฟฟ้า พบว่ามียอดขายทั้งหมด 17,090 คัน คิดเป็นสัดส่วน 38% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยรถยนต์ HEV หรือ รถไฮบริด ยังคงได้รับความนิยม มียอดขายรวมอยู่ที่ 8,658 คัน เติบโต 33% คิดเป็นสัดส่วน 51% ของตลาด xEV และรถยนต์ BEV หรือ รถยนต์ไฟฟ้า 100 % EV มียอดขาย 7,654 คัน เพิ่มขึ้น 16% คิดเป็นสัดส่วน 45% ของตลาด xEV ทั้งหมด

 

ส่วนทางด้านยอดขายรถยนต์ 8 เดือนแรกปี 2567 (มกราคม -สิงหาคม) เมื่อมาดู 10 อันดับแบรนด์ที่ขายดีที่สุด พบว่ามีแบรนด์ใหม่ที่ติด 1 ใน 10 ครั้งแรกนั่นก็คือ ฉางอาน ซึ่งแต่เดิมอันดับ 10 ที่ขายดีจะเป็นแบรนด์จากจีนอย่าง เกรท วอลล์ มอเตอร์ ทั้งนี้สามารถตรวจสอบตารางยอดขายพร้อมทั้งอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและส่วนแบ่งทางการตลาดได้ดังต่อไปนี้

 

ขณะที่ยอดขายรถเฉพาะเดือนสิงหาคม 2567 แบ่งออกเป็นเซกเมนต์ต่างๆมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ตลาดรถยนต์รวม 45,190 คัน ลดลง 25%   

  1. โตโยต้า   17,843 คัน   ลดลง   14.5%  ส่วนแบ่งตลาด   39.5%
  2. อีซูซุ         6,145 คัน   ลดลง   46%      ส่วนแบ่งตลาด   13.6%
  3. ฮอนด้า     5,005 คัน   ลดลง   29.3%   ส่วนแบ่งตลาด   11.1%

ตลาดรถยนต์นั่ง 18,305 คัน ลดลง 22.6%      

  1. โตโยต้า  5,554 คัน  ลดลง   33.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
  2. ฮอนด้า   3,302 คัน  ลดลง   24.1% ส่วนแบ่งตลาด 18%
  3. มิตซูบิชิ  1,375 คัน  เพิ่มขึ้น  48%   ส่วนแบ่งตลาด   7.5%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ 26,885 คัน ลดลง 26.5% 

  1. โตโยต้า    12,289 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด   45.7%
  2. อีซูซุ         6,145 คัน  ลดลง 46%  ส่วนแบ่งตลาด   22.9%
  3. ฮอนด้า    1,703 คัน  ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด   6.3%
 

สำหรับกลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ เมื่อแยกออกเป็นประเภทต่างๆ

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)14,970 คัน ลดลง 39.2%

  1. โตโยต้า 7,086 คัน  ลดลง   29.2%  ส่วนแบ่งตลาด   47.3%
  2. อีซูซุ       5,275 คัน ลดลง   47.2%  ส่วนแบ่งตลาด   35.2%
  3. ฟอร์ด     1,501 คัน  ลดลง  49.2%  ส่วนแบ่งตลาด    10%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,667 คัน

อีซูซุ 1,158 คัน ,โตโยต้า 822 คัน ,ฟอร์ด 542 คัน ,มิตซูบิชิ 113 คัน ,นิสสัน 32 คัน

 ตลาดรถกระบะ Pure Pick up 12,303 คัน ลดลง 37.1%   

  1. โตโยต้า   6,264 คัน  ลดลง   21.4% ส่วนแบ่งตลาด   50.9%
  2. อีซูซุ        4,117 คัน ลดลง   51.1%  ส่วนแบ่งตลาด   33.5%
  3. ฟอร์ด      959 คัน  ลดลง   47.5%   ส่วนแบ่งตลาด   7.8%     

     
 

โตโยต้าประเมินตลาดรถยังทรงตัว ไฟแนนซ์เข้ม ศก.ฟื้นช้า น้ำท่วมกระทบการตัดสินใจซื้อ 

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน 2567 ยังคงทรงตัวและอาจจะเติบโตลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวช้า และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมถึงภาวะอุทกภัย อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

 

ส.อ.ท.คาดไตรมาส 4 ตลาดรถกระเตื้อง

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์  ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้สถานการณ์ของตลาดรถยนต์น่าจะดีขึ้น เพราะมีรัฐบาลใหม่เข้ามา และมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ การแจกเงินหนึ่งหมื่นบาท การเร่งแก้ไขหนี้ทั้งในและนอกระบบ นอกจากนั้นแล้วเงินงบประมาณปี 2568 ที่จะเริ่ม 1 ตุลาคม 2567 ก็จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศให้ฟื้นตัว 

2024-09-27T05:54:14Z dg43tfdfdgfd