รัสเซียโชว์ซากรถถังชาติตะวันตกจากสนามรบยูเครน

ตั้งแต่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา รัสเซียจัดการแสดงซากรถถังและยานยนต์หุ้มเกราะชาติตะวันตกในกรุงมอสโก ท่ามกลางความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก โดยจัดในพื้นที่เดียวกับพิพิธภัณฑ์รำลึกชัยชนะของสหภาพโซเวียตเหนือนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 2

ยานยนต์ต่อสู้เหล่านี้มีแหล่งผลิตในหลายประเทศ ทั้งอังกฤษ เยอรมนี ออสเตรีย สวีเดน เช็ก ตุรกี และแอฟริกาใต้ แต่ไฮไลต์คือซากรถถังอเมริกัน "เอ็มวัน เอบรามส์" (M1 Abrams) ซึ่งทหารรัสเซียยึดมาได้ด้วยการยิงจรวดนำวิถีและใช้โดรนกามิกาเซโจมตีระหว่างการสู้รบในยูเครนตะวันออก

“ไบเดน” เตือนม็อบหนุนปาเลสไตน์ บุกทำลายข้าวของไม่ใช่การชุมนุม

สหรัฐฯ กล่าวหารัสเซียใช้อาวุธเคมีต้องห้ามในสงครามยูเครน

เรือรบบรรทุกเครื่องบิน “ฝูเจี้ยน” ของจีน ทดสอบในทะเลครั้งแรก

ขณะที่แถลงการณ์กระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่าการแสดงซากยุทโธปกรณ์เหล่านี้เป็นการสะท้อนความแข็งแกร่งของรัสเซีย พร้อมทั้งแสดงความมั่นใจว่าจะได้รับชัยชนนะเหนือยูเครนอย่างแน่นอน โดยการส่งอาวุธจากชาติตะวันตกจะไม่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ในสนามรบ 

ขณะเดียวกัน ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียได้แถลงปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐฯที่อ้างว่กองทัพรัสเซียละเมิดกฎหมายรระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธเคมี โดย นาย ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาล ยืนยันว่ารัสเซียยังคงยึดมั่นในสนธิสัญญาว่าด้วยการใช้อาวุธเหล่านี้่ 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ค. สหรัฐฯ ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ กล่าวหารัสเซียว่าใช้อาวุธเคมีต้องห้ามในการทำสงครามกับยูเครน และประกาศบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อบริษัทและหน่วยงานรัฐบาลของรัสเซีย

ในถ้อยแถลง กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า “รัสเซียได้ใช้อาวุธเคมีคลอโรพิคริน (Chloropicrin) กับกองกำลังยูเครน ซึ่งถือเป็นการละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (CWC)” และเสริมว่า “รัสเซียยังใช้ “สารควบคุมจลาจล” หรือแก๊สน้ำตาในช่วงสงคราม ซึ่งละเมิด CWC ด้วยเช่นกัน 

สำหรับคลอโรพิครินเป็นสารเคมีที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่หลังจากนั้นมาไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในทางการทหารอีกต่อไป และปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตร

ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) คลอโรพิครินทำให้เกิดผลระคายเคืองต่อปอด ดวงตา และผิวหนัง และอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงเป็นเวลานานหลายสัปดาห์

2024-05-03T02:11:57Z dg43tfdfdgfd